ปิดบัญชีรถฟ้อง รับจัดไฟเเนนซ์รถยนต์ รีย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์ โทร.089-7229755 โอนย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์
3

   ปิดบัญชีรถฟ้อง

     สำหรับการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถกระบะ รถเก๋ง รถครอบครัว รถบรรทุก รถการเกษตร หรือรถยนต์ชนิดอื่น ๆ ส่วนมากเราไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสด ไม่ว่าจะปัจจัยจากสภาพคล่องทางการเงิน การประกอบอาชีพที่ไม่แน่นอน หรือต้องการวางแผนทางการเงินที่ยังไม่สามารถจ่ายเงิดสดซื้อได้ในคราวเดียว จึงนิยมใช้วิธีกู้เงินหรือเรียกว่า "จัดไฟแนนซ์" แต่เมื่อผ่อนได้สักระยะเวลาหนึ่งแล้ว ไม่สามารถชำระค่างวดค้างเกิน 3-4 งวดติดต่อกัน หรือมากกว่านั้น จึงถูกสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์มายึดรถยนต์ ลูกค้ามีความประสงค์ไม่คืนรถยนต์และไม่ส่งมอบรถยนต์คืนให้สถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์ก็จะถูกดำเนินการฟ้องร้องตามกฏหมายและศาลตัดสินมาแล้วจนถูกงานบังคับคดีถึงที่สุด แต่ลูกค้ามีความประสงค์จะใช้รถยนต์ต่อไป เรามีสินเชื่อ "ปิดบัญชีรถฟ้อง" ไว้คอยให้บริการนะครับ

ถ้าไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์ ถูกฟ้อง ทำอยางไร ?
     1. ไฟแนนซ์ฟ้องคดีแพ่ง
>> มีหมายศาลให้ผู้เช่าซื้อไปไกล่เกลี่ยในศาลต้องไปตามวัน เวลาที่ศาลระบุในคำฟ้อง เพราะมีโอกาสขอผ่อนชำระได้ และขอให้ศาลลดหนี้ให้ได้
>> ไม่ได้รับหมายศาล แต่มีหนังสือให้นำเงินไปชำระหนี้และมีคำบังคับจากศาลพิพากษาให้นำรถไปคืนหรือชำระราคารถ ผู้เช่าซื้อควรขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล
>> ได้รับหมายศาล แต่ไม่ไปตามที่ศาลนัด จะทำให้เสียสิทธิการเจรจาหรือไฟแนนซ์อาจเรียกราคาสูงกว่าความเป็นจริงและศาลพิพากษาตามไฟแนนซ์ร้องขอ โดยผู้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน
     2.ไฟแนนซ์ฟ้องคดีอาญา
>> มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไฟแนนซ์ฟ้องคดีหรือแจ้งความภายใน 3 เดือน หากมีรถคืนควรรีบคืนทันที เพื่อให้ไฟแนนซ์ถอนแจ้งความ แต่หากไม่มีรถคืนอาจมีความผิด ต้องติดตามหารถให้เจอและแจ้งไฟแนนซ์ให้ยึดรถ หรือเจรจาขอผ่อนจ่าย

ถูกฟ้องและบังคับคดี ต้องชดใช้หนี้ส่วนต่างหรือไม่ ?
>> ถ้าขายได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อต้อง “คืนเงินส่วนที่เกิน” ให้แก่ผู้เช่าซื้อราย
>> ถ้าขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้อง “รับผิดในส่วนที่ขาด” เองนะครับ
“ลูกหนี้” เมื่อได้รับ “หมายศาล” อย่าเพิ่งตกใจอาจเป็นหนทางเคลียร์หนี้ได้นะ มาทำความเข้าใจและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ได้เลยครับ

5 ข้อควรรู้ของ "ลูกหนี้" หากถูกฟ้องและได้รับหมายศาล ?

     แนะนำว่า "ต้องไป" เพราะเป็นโอกาสในการเจรจาต่อรองและเป็นโอกาสในการยุติคดี เคลียร์ภาระหนี้สิน เมื่อตกเป็น “ลูกหนี้” และถูกฟ้องร้องบังคับคดี หลายคนอาจตกใจ กลัว หรือรู้สึกเครียด เมื่อได้รับ “หมายศาล” เพราะนั่นหมายความว่าเรากำลังเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับศาลและการบังคับคดี แต่ที่จริงแล้ว การได้รับหมายศาลไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด แต่อาจเป็นทางออกให้กับลูกหนี้ ในการยุติคดี หรือ เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ โดยมีคนกลางเป็นสักขีพยานให้เถือเป็นโอกาสที่จะได้ปลดหนี้แบบราบรื่น เพียงแค่เรารู้จักสิทธิและตัวบทกฎหมายที่คุ้มครองลูกหนี้

เรื่องที่ 1 จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกฟ้อง ?

     เมื่อถูกฟ้องจะมี “หมายศาล” ส่งไปตามที่อยู่ใน “ทะเบียนบ้าน” ลูกหนี้มีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่ส่งไปยังที่อยู่นี้ เพราะตามกฎหมาย หากหมายส่งถึงบ้านจะถือว่าลูกหนี้ได้รับแล้ว จะปฏิเสธว่าไม่ได้รับไม่ได้ นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถตรวจสอบว่า ตนเองถูกฟ้องหรือยัง? จากศาลในเขตอำนาจตามทะเบียนบ้าน

เรื่องที่ 2 ทำอย่างไร เมื่อถูกฟ้อง ?
     ลูกหนี้ จำนวนไม่น้อยรู้สึกตกใจ เมื่อได้รับ “หมายศาล” ทั้งที่ความจริงแล้วหมายนี้เป็นเพียงการสื่อสารระหว่างศาลซึ่งเป็นคนกลางระหว่างเจ้าหนี้ (โจทก์) และลูกหนี้ (จำเลย) ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ได้รับหมายศาลแล้ว มีหน้าที่อ่านให้เข้าใจว่าศาลต้องการสื่ออะไร ที่สำคัญคือ
     (1) หมายเลขคดี
     (2) ไปศาลไหนเพราะประเทศไทยมีศาลทั่วประเทศ
     (3) ประเด็นที่เจ้าหนี้ต้องการฟ้อง
     (4) จำนวนเงินที่ฟ้องตรงกับหนี้สินที่เกิดขึ้นหรือไม่ รายการใดไม่ตรงกับสัญญา
     (5) เจ้าหนี้ฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เช่น หนี้บัตรเครดิตอายุความ 2 ปี สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี หนี้จากเงินกู้ยืมแบบผ่อนคืนเป็นงวด 5 ปี ทั้งนี้ หากคดีหมดอายุความแล้วลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ยกเว้นมีหนังสือรับสภาพหนี้หรือการรับสภาพความผิด ดังนั้นทุกครั้งในการลงนามในเอกสารของเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่อ่านให้ละเอียดก่อนลงนามเสมอ เพราะหลังจากลงนามแล้วจะอ้างว่า ไม่รู้ไม่ได้

เรื่องที่ 3 ทำไมควรไปศาล ?
     การไปศาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ปลอดภัยที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับตัวเอง ซึ่งศาลจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็น-บริบทแวดล้อม รวมทั้งสถานะการเงินตามหลักฐานที่นำมายืนยันในชั้นศาล และหากลูกหนี้พอมีเงินอยู่บ้างก็สามารถเจรจาต่อรองการชำระหนี้ในชั้นศาลได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกหนี้ได้ลดทอนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยได้ รวมถึงต่อรองค่าธรรมเนียมได้ด้วย
     ในทางตรงข้าม หากลูกหนี้ไม่ไปศาล เท่ากับเสียสิทธิในการต่อสู้และหมดโอกาสเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่อหน้าคนกลาง (ศาล) ที่พร้อมจะให้ความเป็นธรรม สุดท้าย คือ ศาลจำเป็นต้องพิพากษาฝ่ายเดียว ตามคำฟ้องและเหตุผลของเจ้าหนี้เพียงด้านเดียว โดยที่ลูกหนี้ไม่ได้ชี้แจง ทำให้ต้องชำระหนี้เต็มอย่างไม่มีทางเลือก

เรื่องที่ 4 การยุติคดีโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ?
     หลังจากที่ลูกหนี้ถูกฟ้องแล้ว ลูกหนี้ยังสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ จนได้ข้อยุติในการชำระหนี้คืนแล้ว ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล (พิพากษาตามยอม) ซึ่งจะผูกพันทั้งสองฝ่าย โดยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย สามารถทำสัญญายอมฯ ได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องจ้างทนายความให้เสียค่าใช้จ่าย เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ศาลช่วยตรวจสอบความถูกต้องและให้ความเป็นธรรมให้อยู่แล้ว อีกทั้งการทำสัญญายอมฯ ในศาลนั้น ศาลจะมีคำสั่งคืนเงินค่าธรรมเนียมศาลให้เจ้าหนี้ด้วยบางส่วน ทำให้ลูกหนี้รับภาระในส่วนนี้น้อยลงและสามารถเจรจากับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าทนายความของเจ้าหนี้ด้วย แต่หากลูกหนี้ผิดสัญญา เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้ได้ทันที

เรื่องที่ 5 หลังศาลพิพากษา ลูกหนี้มีสิทธิและหน้าที่อะไรบ้าง ?
     ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาและตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าลูกหนี้จะร่วมฟังคำพิพากษาด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยลูกหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล ภายในเวลา 1 เดือนนับแต่วันพิพากษา หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ต้องติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหนี้ชะลอการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะตกลงหรือปฏิเสธก็ได้ หากลูกหนี้ชำระไม่ได้ เจ้าหนี้จะตามสืบว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรบ้างและอยู่ที่ไหน ทำงานอยู่ที่ไหน หากเจอก็จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และศาลจะแจ้งไปยังกรมบังคับคดีให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ และ/หรือ อายัดเงินเดือน
     (1) ยึดทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน เมื่อทรัพย์ถูกยึดแล้ว ก็จะถูกนำออกขายทอดตลาดได้ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้
     (2) อายัดเงินเดือนและรายได้อื่นๆ แต่จะไม่อายัดทั้งหมด เช่น
  >> เงินเดือน อายัดไม่เกิน 30% ของอัตราเงินเดือนก่อนหักรายจ่าย และต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท
  >> เบี้ยเลี้ยงชีพ-ค่าล่วงเวลา-เบี้ยขยัน อายัดไม่เกิน 30% ของเงินที่ได้รับ
  >> เงินโบนัส อายัดไม่เกิน 50% ของเงินที่ได้รับ
  >> เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดได้แต่ให้เหลือขั้นต่ำ 300,000 บาท
     ลูกหนี้มีสิทธิขอลดเงินเดือนและค่าจ้างที่อายัด ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่อายัดไว้เดิม โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องขอลด และจะขอลดเหลือเท่าไร และให้แนบสลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน เอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จึงได้รับการพิจารณาตามที่เห็นสมควร
     สิ่งที่พึงระวังคือ กรณีที่ลูกหนี้พยายามผ่องถ่ายทรัพย์ไปให้ผู้อื่น หรือซ่อนทรัพย์จะมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตาม ม. 350 ประมวลกฎหมายอาญา)
     สรุป สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้ลูกหนี้เอาใจใส่ เพื่อเข้าใจหลักคิดในกระบวนการยุติธรรม พร้อมกับดูแลและปกป้องตัวเองได้ถูกต้อง

ปิดบัญชีรถฟ้อง กับ CiMF Leasing ดีอย่างไร ?
     (1) รับรถยนต์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ รถเก๋ง รถกระบะ รถการเกษตร รถบรรทุก รับรถตั้งแต่ 4 - 18 ล้อ หรือรับรถยนต์ตั้งแต่ปี 2541 ขึ้นไป ที่ไหนไม่รับ มาปรึกษาเราได้ บริการถึงที่ ฟรี..ทั่วไทย อยู่ไหนก็จัดได้
     (2) ให้ยอดจัดสูงไม่จำกัดวงเงิน ดอกเบี้ยต่ำสุด แบบลดต้นลดดอก ปิดบัญชีตอนไหนก็โป๊ะได้ ดอกเบี้ยคิดถึงวันที่ปิดบัญชี ปิดก่อนกำหนดไม่มีค่าธรรมเนียมปิดบัญชี สบายใจได้ ปลอดภัยกว่า
     (3) เลือกผ่อนชำระได้ โดยเริ่มตั้งแต่ 1 - 7 ปี หรือ 12 - 84 งวด ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติลูกค้า เลือกให้เหมาะกับคุณ โดยคิดให้รอบคอบว่าสามารถชำระค่างวดในอนาคตได้หรือไม่ จะช่วยให้คุณลูกค้า วางแผนการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     (4) ค้างค่างวดหลายงวด ตั้งแต่ 1 -12 งวด ถูกติดตาม เบื่อการทวงถาม ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เราพร้อมคุยและเจรจากับสถาบันการเงินเดิมให้ เราบริการรับปิดบัญชีรถค้างงวดให้ลูกค้าทุกกรณี ทุกขั้นตอนมีที่ปรึกษาสินเชื่อมืออาชีพ ไว้คอยให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง มั่นใจได้ ปลอดภัยยิ่งกว่า
     (5) ติดเครดิตบูโร เครดิตไม่ดี ติดแบล็คลิสต์ ประวัติเครดิตเสีย ต้องการสร้างเครดิตใหม่ ก็ขอสินเชื่อกับเราได้ ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน ไม่ต้องโอนรถ ไม่ต้องจอดรถ ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ไว้ใจได้
     (6) รถถูกยึดแล้ว เราสามารถไถ่ถอนให้ถึงลานประมูลก่อนจะประมูลรถได้เลย งานฟ้อง งานกฏหมาย งานบังคับคดี เราคุยให้ทุกขั้นตอน ปิดบัญชีให้อย่างรวดเร็ว สบายใจได้ ทุกขั้นตอนเรามีทีม ที่ปรึกษาสินเชื่อมืออาชีพ ไว้ให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง
     (7) การจ่ายเงินให้ลูกค้า จะจ่ายเงินสดหรือเป็นการโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอสินเชื่อเท่านั้น เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ หรือถ้าเป็นเคสซื้อขายกันเอง ก็จะโอนเงินเข้าบัญชีของ ผู้ขาย หรือ ผู้ซื้อ หรือ เจ้าของเต้นท์ ตามตกลงกันก่อนการโอนเงินทุกครั้ง
     (8) มีสำนักงานถูกต้องตามกฏหมาย และเราบริการแบบ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไว้ใจได้ บริการถึงที่ ฟรี..ทั่วไทย อยู่ไหนก็จัดได้ เราคุยเงื่อนไขเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา พร้อมคำอธิบายอย่างเป็นกันเอง ถ้าจบเงื่อนไข จะไม่มีเก็บค่าใช้จ่ายก่อนไดๆทั้งสิ้น "มีรถมีโฉนด เงินสดถึงบ้าน" แล้วพบกันนะครับ     
     สำหรับใครที่กำลังมองหาสถาบันการเงินในการขอสินเชื่อ "ปิดบัญชีรถฟ้อง" รถกระบะ รถเก๋ง รถครอบครัว รถการเกษตร รถบรรทุก หรือรถยนต์ประเภทอื่นๆ ให้ CiMF Leasing บริการสินเชื่อรถยนต์ ศูนย์รวมไฟแนนซ์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีของคุณ เรามีบริการสินเชื่อ "ปิดบัญชีรถฟ้อง” "ปิดบัญชีรถงานกฏหมาย" "ปิดบัญชีรถงานบังคับคดี" เพื่อให้ลูกค้าสามารถลดภาระค่างวดให้น้อยลง หรือเลือกกู้เพิ่มเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องทางการเงิน แต่ทั้งนี้ ยอดขอกู้สินเชื่อไฟแนนซ์ใหม่ ต้องเยอะกว่า ยอดปิดบัญชีรวมสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์เดิม สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไว้ใจได้ บริการถึงที่ฟรี..ทั่วไทย อยู่ไหนก็จัดได้
    คุณสามารถติดต่อบริการสินเชื่อ "ปิดบัญชีรถฟ้อง" กับ CiMF Leasing บริการสินเชื่อรถยนต์ ศูนย์รวมไฟแนนช์ ได้ง่ายๆ เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว สมัครสินเชื่อบนเว็บไซต์ หรือ Line@checkincimf ได้เลยครับ

*เงื่อนไขเป็นไปตามผู้ให้บริการกำหนด

ปิดบัญชีรถฟ้อง รับจัดไฟเเนนซ์รถยนต์ รีย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์ โทร.089-7229755 โอนย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์
3